ทำไมเราถึงไม่ใช้ถั่วเหลือง ข้าวสาลี และพืชตระกูลถั่ว

ทำไมเราถึงไม่ใช้ถั่วเหลือง ข้าวสาลี และพืชตระกูลถั่ว

ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ถั่วลูกไก่ ถั่วเลนทิล เมล็ดถั่ว ฯลฯ เป็นส่วนผสมทั่วไปในอาหารสัตว์เลี้ยงที่วางขายตามท้องตลาด ซึ่งพืชตระกูลถั่วมีต้นทุน และมีอัตราส่วนของโปรตีนสูง อย่างไรก็ตามเนื่องจาก "การดัดแปลงทางพันธุกรรม" "ไมโคทอกซิน" และ "ปัจจัยต่อต้านโภชนาการ" จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ทีมนักโภชนาการ REAL POWER ปฏิเสธที่จะใช้วัตถุดิบดังต่อไปนี้ :

1. ถั่วเหลือง

ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรม
ยังคงเป็นที่ถกเถียงเรื่องความกังวลของส่วนผสมที่ผ่านกระบวนการ GMO ที่มีผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะถั่วเหลืองที่มีสัดส่วนของ GMO สูง ซึ่งจากข้อมูลของ USDA ในปี 2019 ถั่วเหลืองกว่า 90% มีดัดแปลงทางพันธุกรรม โดยถือได้ว่ามีถั่วเหลืองจำนวนน้อยมากที่ไม่ผ่านกระบวนการ GMO

 

2. ข้าวสาลี

ไมโคทอกซิน (สารพิษจากเชื้อรา)
ข้าวสาลีได้รับผลกระทบจากอุณหภูมิและความชื้น ซึ่งง่ายต่อการเกิดเชื้อรา และผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิ เช่น

  • อะฟลาทอกซิน (AFB1, AFB2, AFG1, AFG2 – ผลวิเคราะห์ COA)
  • OTA : โอคราทอกซิน ซิตรินิน (เมื่อ 16 ปีที่แล้วการเสียชีวิตของสุนัขไต้หวันจํานวนมากเกิดจาก OTA และ Citrinin)
  • DON : ดีออกซีนิวาเลนอล
  • ZEA : ซีราลีโนน
  • T-1, T-2 : ไตรโคทีซีน
  • เออร์กอต อัลคาลอยด์
  • FUM : ฟูโมนิซิน ฯลฯ

แมวและสุนัขมีความทนทาน และความสามารถในการดีท็อกซ์ไมโครทอกซิน (สารพิษจากเชื้อรา) ในปริมาณที่ต่ำมาก โดยพิสูจน์แล้วว่าหากได้รับเพียงเล็กน้อยในระยะยาว ก็สามารถทำให้เกิดแผลในตับ ไต มะเร็ง เนื้องอก และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงทุกคนจึงควรหลีกเลี่ยงสารพิษประเภทนี้

ความกังวลเกี่ยวกับโรคภูมิแพ้

กลูเตนเป็นหนึ่งในสารก่อภูมิแพ้ในข้าวสาลี ซึ่งสารนี้ถูกพบอยู่ในชั้นนอกที่มีลักษณะแข็งของข้าวสาลี หรือที่ทั่วไปเรียกกันว่า "โปรตีนจากรําข้าว" ซึ่งอาการแพ้ทั่วไปจะเกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และผิวหนัง เช่น ผื่นผิวหนัง ท้องเสีย และจะเกิดขึ้นเมื่อแมวหรือสุนัขบริโภคข้าวสาลีที่มากเกินไป โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงที่มีปัญหาเรื่องกระเพาะอาหารอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ ซึ่งโปรตีนจากรำข้าว ถือว่ามีกลูเตนในปริมาณที่สูง

ดังนั้นด้วยกลไกการป้องกันของระบบภูมิคุ้มกันแมวและสุนัข จึงอาจทําให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้

3. แอนติเจน- พืชตระกูลถั่ว ถั่วลูกไก่ ถั่วเลนทิล เมล็ดถั่ว ฯลฯ

มีแอนติเจนอย่างน้อย 2 ชนิดในถั่วเหลือง โปรตีนรําข้าวสาลี และองค์ประกอบพืชตระกูลถั่วบางชนิดนั้นยากที่จะกำจัดแอนติเจนออก เนื่องจากแอนติเจนนั้นแทรกซึมอยู่ตามวิลลัสในลำไส้อาหาร และระหว่างลำเลียงเลือดไปยังภูมิคุ้มกันแต่ละส่วน อีกทั้งยังมีลิมไฟไซท์ที่ช่วยสร้างแอนติบอดี เมื่อแอนติบอดีทำปฏิกิริยากับแอนติเจนมากขึ้นจะนําไปสู่การตอบสนองต่อการอักเสบของร่างกายสัตว์เลี้ยง เช่น ท้องเสีย และผื่นผิวหนัง ซึ่งถึงแม้ว่าพืชตระกูลถั่วเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีของมนุษย์ แต่เราปฏิเสธที่จะใช้วัตถุดิบจากพืชตระกูลถั่วใดๆ ในสูตรของ REAL POWER

ลงทะเบียนสำเร็จ
อีเมลของคุณเคยมีการลงทะเบียนสมัครบัญชีผู้ใช้แล้ว